บทความ ข่าวสาร

  1. ขยะอิเล็กทรอนิกส์ ลดได้ ถ้าเราช่วยกัน                                      

คิดก่อนซื้อ       เลือกผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานและเหมาะสมกับการใช้งาน เพื่ออายุการใช้งานที่คงทน

ใช้ให้คุ้ม           ดูแลรักษาให้ดีตามคำแนะนำ

ซ่อมแซมเมื่อเสื่อมสภาพ     แน่นอนว่าอุปกรณ์หลายๆ อย่างราคาไม่แพง และการทิ้งแล้วซื้อใหม่ก็ง่ายกว่าซ่อมแซมมาก แต่นั่นเป็นการผลักภาระขยะมลพิษให้กับโลกเรา ทางที่ดีควรศึกษาปัญหาแล้ว หาวิธีซ่อมแซมจะดีกว่า เดี๋ยวนี้ทุกคนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ วิธีซ่อมแซมอุปกรณ์ต่างๆ ก็หาได้ง่ายๆ ในยูทูป เป็นการลดทั้งภาระค่าใช้จ่ายและภาระของโลกเราด้วย

เลิกวิ่งตามเทคโนโลยี      เพราะอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ออกรุ่นใหม่บ่อยมาก เมื่อซื้อใหม่ ของเก่าไร้คุณค่า และกลายเป็นขยะทันที

ไม่ทิ้งรวมกับขยะมูลฝอยทั่วไป เพราะขยะอันตรายเหล่านี้หากรั่วไหลลงสู่พื้นดินและแหล่งน้ำจะกลายเป็นสารพิษที่น่ากลัวเลย!! นอกจากนี้ยังเป็นอันตรายต่อคนที่เก็บไปจัดการต่อโดยไม่มีความรู้เพียงพออีกด้วยนะคะ

 

ขยะอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ที่ใช้กันในชีวิตประจำวัน ส่วนใหญ่มีสารอันตรายที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ได้แก่
  1. ตะกั่ว     ทำลายระบบประสาท ต่อมไร้ท่อ ไต ระบบเลือด และการพัฒนาสมองของเด็ก ส่วนพิษเรื้อรังจะค่อย ๆ แสดงอาการภายหลังการได้รับสารตะกั่วทีละน้อยจนถึงระยะเวลาหนึ่ง จึงจะแสดงอากา
  2. 2. ปรอท      เป็นอันตรายต่อระบบประสาทส่วนกลาง ได้แก่ สมองและไขสันหลัง ทำให้เสียการควบคุมเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของแขน ขา การพูด ทำให้ระบบประสาทรับความรู้สึกเสียไป เช่น การได้ยิน การมองเห็น ไม่สามารถรักษาให้ดีดังเดิมได้
  3. คลอรีน      อยู่ในพลาสติกพีวีซี ก่อสารมะเร็ง เมื่อพลาสติกถูกเผาจะส่งผลต่อระบบหายใจ ระคายจมูก และทำให้เคลือบฟัผุ   
  4.  แคดเมียม มีพิษเฉียบพลัน ทำให้ปอดอักเสบรุนแรง ไตวาย ไตถูกทำลาย
  5. โบรมีนเป็นสารก่อมะเร็ง ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี และรูปทรงของเส้นใยกล้ามเนื้อหัวใจ

“วิธีการป้องกันขยะอิเล็กทรอนิกส์เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำได้โดยให้ลดการนำเศษเหลือทิ้งของผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่หมดอายุการใช้งานแล้ว นํากลับมาใช้ใหม่ เพื่อลดความเสี่ยงและผลกระทบจากปริมาณขยะ

                                                                              บทความเรื่อง : สิ่งควรรู้ในการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์

                                                                   (เลือกคอมพิวเตอร์อย่างไรให้ตรงกับการใช้งานมากที่สุด)

 

สำหรับหลายๆ คนแล้ว การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์เป็นเรื่องน่าปวดหัว คุณอาจจะคิดว่าเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี โดยขอคำแนะนำจากเพื่อนๆ หรือศึกษาข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือเวบไซต์มาแล้ว แต่พอคุณไปถึงร้าน พนักงานขายที่พร้อมให้คำแนะนำเพิ่มเติมอื่นๆ อีกมากก็อาจทำให้งงมากขึ้น

การศึกษาหาข้อมูลให้มากที่สุดนั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่บางครั้งคำแนะนำจากคนอื่นอาจทำให้คุณหลงลืมวัตถุประสงค์ของตัวเองในการซื้อคอมพิวเตอร์ คนที่จะเป็นผู้ใช้งานเครื่องคอมพ์ที่คุณจะซื้อก็คือตัวคุณเอง ไม่ใช่เพื่อน สื่อโฆษณาต่างๆ หรือพนักงานขาย แต่คือคุณ ฟังดูเป็นเรื่องธรรมดา แต่คุณอาจแปลกใจว่ามีคนจำนวนมากเลยทีเดียวที่ลืมข้อสำคัญในการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ข้อนี้ไป

คุณใช้คอมพ์ทำอะไร

สิ่งแรกที่คุณต้องทำคือคิดให้ดีก่อนว่าคุณต้องการใช้คอมพ์ทำอะไรบ้าง ลองถามตัวเองว่าคุณเป็นนักเล่นเกมส์ตัวยง หรือชอบใช้งานเกี่ยวกับมัลติมีเดียต่างๆ คุณอยากได้คอมพ์ที่มีภาพคมชัดพอๆ กับประสิทธิภาพในการทำงานที่สูง หรืออยากได้คอมพิวเตอร์ที่ใช้งานไม่ค่อยบ่อย คุณต้องการคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะหรือโน้ตบุ๊กก็ไม่ต่างกัน คุณทำงานอะไรและชอบทำอะไรในเวลาว่าง คุณชอบติดตามข่าวสารต่างๆ หรือดูวิดีโอแม้แต่ในเวลาเดินทางรึเปล่าคุณเท่านั้นที่จะตอบคำถามพวกนี้ได้

แต่ถ้าคุณไม่แน่ใจว่าควรจะเริ่มต้นอย่างไร เรามาลองดูคำถามที่มักจะพบบ่อยที่สุดเวลาเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ให้เหมาะกับความต้องการของคุณ

แท็บเบล็ต สมาร์ทโฟน เน็ตบุ๊ค หรือ พีซี จะซื้อแค่เครื่องเดียวหรือต้องมีทั้งหมด

แท็บเบ็ลต สมาร์ทโฟน และเน็ตบุ๊ค เป็นทางเลือกที่น่าดึงดูดใจสำหรับผู้ที่ต้องการดูคอนเท้นท์ต่างๆระหว่างเดินทาง หรืออ่านอีเมลบนโซฟาอยู่ที่บ้าน สิ่งเหล่านี้เป็นเทคโนโลยีเสริมนอกเหนือจากเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้คุณสามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้แม้ในเวลาที่คุณไม่ได้อยู่หน้าจอคอมพ์

สมาร์ทโฟน แท็บเบล็ต และเน็ตบุ๊ค มีขนาดเหมาะสำหรับพกพา และได้รับการดีไซน์มาเพื่อตอบสนองการชมสื่อต่างๆ และการสื่อสารของคุณเพียงบางส่วนเท่านั้น  แต่ไม่ใช่สำหรับการสร้างงาน หรือการทำงานหลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน เพราะขนาดที่เล็กทำให้ขนาดของจอและสมรรถนะในการประมวลผลน้อยกว่าเมื่อเทียบกับเครื่องคอมพิวเตอร์  ดังนั้นถ้าคุณต้องการถ่ายภาพ ตัดต่อภาพแชร์ภาพและวิดีโอ รวมไปถึงดูซีรี่ส์สุดโปรดบนโซฟาที่บ้าน หรือต้องเขียนอีเมล และเอกสารอื่นๆ อย่างเต็มที่ เครื่องคอมพิวเตอร์และโน๊ตบุ๊คยังคงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด

คุณต้องการประสิทธิภาพของเครื่องแค่ไหน

ซีพียู หรือที่หลายคนอาจจะเรียกว่า ชิป หรือ โปรเซสเซอร์ เป็นอุปกรณ์ชิ้นหลัก ที่มีความสำคัญที่สุดในการทำงานของคอมพิวเตอร์ เปรียบเสมือนเป็นสมองของคอมพิวเตอร์ก็ว่าได้เพราะซีพียูเป็นตัวกำหนดประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องในทุกส่วน หากคุณกำลังมองหาเครื่องคอมพิวเตอร์สักเครื่อง คุณจำเป็นต้องเข้าใจการทำงานของซีพียู ซีพียูจะช่วยรองรับการทำงานของส่วนประกอบชิ้นอื่นๆ รวมทั้งซอฟต์แวร์ต่างๆ ให้ทำงานได้ราบรื่นมากยิ่งขึ้น

เมื่อคุณไปที่ร้านขายคอมพิวเตอร์ อาจจะมีรายละเอียดอื่นๆ ที่คนขายนำเสนอและอาจจะทำให้คุณสับสนเช่น  แรม กราฟิกการ์ด หรือเมมโมรี่ของเครื่อง แต่เริ่มต้น สิ่งสำคัญที่คุณต้องรู้จักคือซีพียู หรือชิปที่เป็นหัวใจหลักในการทำงานของคอมพิวเตอร์นั่นเอง

หลายคนอาจชอบทำงานหลายอย่างพร้อมกัน เช่น อ่านอีเมลไปพร้อมกับดาวน์โหลดเพลงออนไลน์และเข้าเว็บไซต์ต่างๆ คอมพิวเตอร์ของคุณจึงต้องคิดให้เร็วขึ้นและฉลาดขึ้นเพื่อให้ตรงกับลักษณะการใช้งานของคุณ คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆ หลายรุ่นมีคุณสมบัติในการประมวลผลด้วยเทคโนโลยีโปรเซสเซอร์ที่ทันสมัย เช่น เทอร์โบ บูสต์ และ Hyper-Threading ซึ่งช่วยให้คุณทำงานหลายอย่างได้พร้อมกัน อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพที่ฉลาดล้ำ เปรียบได้กับคนที่มีไอคิวสูงที่ทำงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่า ดังนั้นในการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์แต่ละครั้ง ถ้าคุณเลือกโปรเซสเซอร์รุ่นใหม่ที่มีการทำงานที่ฉลาด และสามารถรองรับการทำงานที่เพิ่มขึ้นได้จะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามากที่สุด

สิ่งที่ผู้ซื้อคอมพิวเตอร์ตัดสินใจผิดพลาดบ่อยครั้งคือ การเลือกซื้อหรือเพิ่มอุปกรณ์ส่วนอื่นๆ ที่มีราคาแพง แต่ไม่ได้คำนึงถึงอุปกรณ์หลักที่จะเป็นสมองสั่งงานของเครื่อง ทำให้ไม่สามารถใช้ประสิทธิภาพของอุปกรณ์เหล่านั้นได้อย่างเต็มที่

ความเชื่อผิดๆ ที่มักเกิดขึ้นตอนเลือกซื้อคอมพิวเตอร์

หลายคนอาจเลือกที่จะเพิ่ม แรม (RAM) หรือความจุของฮาร์ดดิสก์ที่มากขึ้น รวมทั้งซื้อแบตเตอรี่สำรองเพิ่มเติม เพื่อลดค่าใช้จ่ายโดยแลกกับโปรเซสเซอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานช้าลง โดยหารู้ไม่ว่าเป็นการทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถแสดงประสิทธิภาพได้อย่างเต็มที่

แรม เป็นส่วนเก็บความจำชั่วคราว ช่วยรองรับการทำงานทั่วไปของเครื่องพีซี ซึ่งสำหรับการทำงานทั่วไป แรมขนาด 4 กิกะไบต์จัดว่าเพียงพอแล้ว คุณสามารถใช้งานซอฟต์แวร์ทั่วๆ ไป เล่นเกมส์ 3 มิติ ตัดต่อไฟล์วิดีโอ เข้าเว็บไซต์ เล่นเพลงจาก iTunes และทำงานเอกสารต่างๆ รวมทั้งส่งอีเมล ได้พร้อมๆ กันอย่างราบรื่น

การเพิ่มแรมจาก 4 กิกะไบต์ขึ้นเป็น 6 หรือ 8 กิกะไบต์ จะช่วยให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์จะเพิ่มขึ้นหากใช้แรม 4 กิกะไบต์เท่าเดิมโดยอัพเกรดโปรเซสเซอร์ให้สูงขึ้น

นอกจากเรื่องขนาดของแรมแล้ว อาจมีเพื่อนผู้หวังดี หรือกูรูด้านไอที ที่พูดถึงความเร็วของซีพียู ซึ่งเมื่อก่อนความเร็วของซีพียูที่มีหน่วยวัดเป็นกิกะเฮิร์ตซ์เป็นตัวบ่งบอกถึงความเร็วในการทำงาน

แต่ในปัจจุบันนี้ไม่ใช่อีกต่อไป เทคโนโลยีโปรเซสเซอร์ที่ทันสมัยช่วยให้ซีพียูสามารถทำงานได้ดีขึ้นโดยไม่ต้องเร่งความเร็ว ด้วยเทคโนโลยีใหม่จาก อินเทลTM เทอร์โบ บูสต์ 2.0 ซึ่งมีอยู่ในซีพียู จะช่วยให้ซีพียูเร่งความเร็วได้ตามที่ต้องการ สามารถทำงานได้เร็วขึ้นในทันทีที่ต้องทำงานหนัก เช่น การประมวลผลไฟล์วิดีโอแบบไฮเดฟินิชั่น, ส่งภาพถ่ายจำนวนมาก หรือเล่นเกมส์ 3 มิติ รวมทั้งเปิดใช้แอพพลิเคชั่นอื่นๆ เพื่อให้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  และปรับเข้าสู่การทำงานแบบประหยัดพลังงานในเวลาที่ใช้งานน้อย

หากคุณเป็นคนที่ชอบทำหลายอย่างพร้อมกัน เช่น เปิดหน้าต่างทำงานทิ้งไว้กว่า 20 หน้าจนทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ค้าง การมีซีพียูที่มีความเร็วมากขึ้นก็ไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้ สิ่งสำคัญคือการเลือกซื้อซีพียูที่มีความสามารถในการช่วยให้คุณทำงานหลายอย่างได้พร้อมๆ กันอย่างไม่ติดขัด ซึ่งเทคโนโลยี อย่างเช่น Hyper Threading สามารถตอบโจทย์นี้

ลองจินตนาการถึงเวลาที่คุณจิบน้ำชา คุณสามารถรินน้ำชาได้ทีละแก้ว เทคโนโลยี Hyper Threading จะใช้งานคอร์หลายตัวในซีพียู โดยส่งพลังงานให้คอร์แต่ละตัวในเครื่องซีพียูสามารถทำงานได้พร้อมกัน เหมือนกับคุณมีกาน้ำชา 2 ปาก เพื่อให้รินน้ำชาได้ทีละหลายแก้ว นอกจากนี้ภายใน อินเทลTM คอร์TM โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่น 2 ตัวล่าสุด เทคโนโลยี Hyper Threading ยังช่วยเพิ่มจำนวน thread ทำให้คุณสามารถทำงานได้มากถึง 8 รายการในเวลาเดียวกันอีกด้วย

เมื่อนำเทอร์โบ บูสต์ เทคโนโลยี มารวมกับ เทคโนโลยี Hyper Threading จะช่วยให้คุณทำงานได้มากขึ้นในเวลาที่สั้นลง ทำให้คุณไม่ต้องนั่งรอเครื่องทำงาน และจะคุณสามารถประหยัดเวลาได้สูงสุดถึง 4 ชั่วโมงต่อวันเลยทีเดียว

กราฟิกการ์ด ควรใช้แบบรวมอยู่ในชิปหรือแบบแยก

ผู้บริโภครุ่นใหม่ได้เปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งเกิดจากการกิจกรรมต่างๆ เช่น เล่นเกมส์ ดูไฟล์วิดีโอจาก วีดีโอ หรือ ยูทูป ชมภาพยนตร์แบบบลูเรย์ ทำให้ผู้ซื้อคอมพิวเตอร์ต้องการรับชมภาพแบบสมจริงและต่อเนื่องโดยไม่สะดุด กราฟิกจึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์

เวลาคุณพิจารณาซื้ออุปกรณ์เสริมสำหรับคอมพิวเตอร์ ตัวเลือกที่มีคือ กราฟิกชิปแบบที่รวมอยู่ในซีพียู หรือแบบแยก ทั้งนี้ด้วยเทคโนโลยีโปรเซสเซอร์ที่ผสานกราฟฟิกชิปรวมในซีพียู จะทำให้คุณสามารถรับชมภาพที่ดียิ่งขึ้น

คุณสมบัติในการรับชมภาพจาก Intel® HD Graphic ซึ่งรวมอยู่ใน อินเทลTM คอร์TM ไอ 3, อินเทลTM คอร์TM ไอ 5 และอินเทลTM คอร์TM ไอ 7 โปรเซสเซอร์ จะตอบโจทย์ความต้องการในการใช้งานเพื่อความบันเทิง ด้วยภาพคมชัดและต่อเนื่อง ไม่ว่าเวลาที่คุณเล่นเกมส์ 3 มิติ หรือ ดูภาพจากเครื่องคอมพิวเตอร์ตามปกติ สิ่งที่คุณเห็นจะดูตื่นตาตื่นใจ และเล่นโดยไม่มีสะดุดหรือติดขัด

เวลาเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ การใช้กราฟิกสูงๆ กับซีพียูรุ่นเริ่มต้น ถือเป็นข้อผิดพลาดที่พบบ่อย เพราะซีพียูรุ่นเริ่มต้นๆ ยังจะคงจะมีการทำงานที่ติดขัด การจับคู่ดังกล่าวจึงไม่ช่วยให้คุณได้ประสิทธิภาพของกราฟิกอย่างเต็มที่

คุณไม่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ที่มาพร้อมกับกราฟิกการด์แบบแยกรุ่นไฮเอนด์ เพื่อใช้ตัดต่อ และแชร์วิดีโอออนไลน์ หรือเข้าดูสื่อมัลติมีเดียบนเว็บไซต์ต่างๆ เช่น Facebook หรือ เล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยี Intel® Quick Sync Video จะช่วยย่นระยะเวลาในการตัดต่อและแชร์วิดีโอ รวมไปถึงสตรีมคอนเท้นท์ไปยังอุปกรณ์อื่น จึงเหมาะสำหรับคนที่ชอบฟังเพลง หรือดูหนังเวลาระหว่างเดินทางเป็นอย่างยิ่ง

เมื่อสองสามปีที่ผ่านมา กราฟิกการด์แบบแยกจะใช้เพื่อส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปยังหน้าจอทีวี ซึ่งในบางครั้งต้องใช้สายเคเบิ้ลเข้ามาเสริม แต่ด้วย Intel® Wireless Display ซึ่งรวมอยู่ในซีพียู        อินเทลTM คอร์ TM โปรเซสเซอร์ตัวใหม่ล่าสุด ทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้น เพราะคุณสามารถต่ออินเตอร์เน็ตจากโน้ตบุ๊กสู่โทรทัศน์ได้ คุณสามารถนั่งรวมกันหน้าจอทีวีขนาดใหญ่ที่บ้านพร้อมเพลิดเพลินไปกับการดูบลูเรย์ และภาพยนตร์ 3 มิติ ที่มีความคมชัดระดับ 1080p จากห้องนั่งเล่นที่บ้านของคุณ

ถ้าคุณเป็นคนชอบเล่นเกมส์ 3 มิติ หรือใช้แอพพลิเคชั่นที่เกี่ยวกับสถาปัตยกรรม วิศวกรรม หรือแอพพลิเคชั่นอื่นที่เน้นการใช้กราฟิกดีไซน์ระดับสูง หรือเน้นการตัดต่อวิดีโอแบบมืออาชีพ คุณจะไม่ได้รับชมภาพ 3มิติอย่างเต็มที่ตามต้องการ หากซื้อกราฟิกการด์แบบแยกราคแพงแต่ไม่ซื้อซีพียูที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง

จะเลือกซื้อรุ่นไหนดี

การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์เป็นหนึ่งเรื่องที่สำคัญ ในขณะที่เราลงทุนกับบ้านและรถ คอมพิวเตอร์มีความสำคัญเพิ่มขึ้น โดยคอมพิวเตอร์กำลังกลายเป็นศูนย์กลางของการทำงานหลายอย่างภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสาร การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ หรือเพื่อความบันเทิง ดังนั้นการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์จึงควรมีการศึกษาให้เข้าใจจนสามารถเลือกได้เหมาะกับกิจกรรม

ต่างๆ และได้ประสิทธิภาพที่ตรงใจคุณ โดยเริ่มต้นที่การเลือกซีพียูที่เหมาะสมกับการทำงาน และควรเลือกเทคโนโลยีใหม่ที่สุดที่มีในขณะนั้นเพราะคุณจะใช้งานไปได้อีกนาน ถ้าคุณเลือกเทคโนโลยีที่เก่าจะทำให้คุณต้องเปลี่ยนเครื่องเร็วขึ้นเพราะซอฟต์แวร์ และแอพพลิเคชั่นต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด  และอย่าลืมว่าการอัพเกรดส่วนอื่นๆ ที่ไม่ได้ทำให้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอย่างแท้จริงจะเป็นการทำให้สิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น

เกี่ยวกับอินเทล

อินเทล เป็นผู้นำในด้านนวัตกรรมการประมวลผล รวมทั้งการออกแบบ และสร้างสรรค์เทคโนโลยีที่เป็นพื้นฐานการพัฒนาอุปกรณ์ประมวลผลระดับโลก ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอินเทล สามารถเข้าชมได้ที่www.intel.com/pressroom , www.intel.com/thblogs.intel.com, ทวิตเตอร์ @Intelthailand และ เฟสบุ๊ค IntelThailand

 

  วิธีดูแลรักษาคอมพิวเตอร์อย่างถูกวิธีในส่วนของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์

อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ คือ ชิ้นส่วนของคอมพิวเตอร์ที่เป็นรูปร่าง สามารถจับต้องได้ วิธีดูแลรักษาคอมพิวเตอร์อย่างถูกวิธีในส่วนนี้สามารถทำง่ายๆ ดังนี้
1.การเลือกสถานที่วางคอมพิวเตอร์ให้ถูกหลัก

ไม่ควรวางชิดกำแพงมากเกินไป ควรวางคอมพิวเตอร์ห่างจากกำแพงอย่างน้อย 1 ฟุต เพราะเมื่อใช้งานคอมพิวเตอร์แล้ว        จะเกิดความร้อน การวางชิดกำแพงจะทำให้ไม่สามารถระบายความร้อนได้ดี ส่งผลให้เครื่องคอมพิวเตอร์จะมีอุณหภูมิ  สูงขึ้น และเป็นสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานหนัก จนเสียได้
2.ไม่ควรปล่อยให้คอมพิวเตอร์สกปรกหรือมีฝุ่นเกาะมากเกินไป

การทำความสะอาดทำได้ง่าย ๆ ด้วยตนเอง เพียงแค่ถอดปลั๊กคอมพิวเตอร์ออก จากนั้นนำผ้าชุดน้ำเปล่านิดหน่อย หรือน้ำยาทำความสะอาดคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะเช็ดอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งหมด หลังจากนั้นให้หาแปรงที่ขนมีความอ่อนนุ่มทำความสะอาดในบริเวณที่ไม่สามารถเช็ดได้

    วิธีดูแลรักษาคอมพิวเตอร์อย่างถูกวิธี ในส่วนของอุปกรณ์ซอฟต์แวร์

ซอฟต์แวร์ คือ ส่วนของระบบปฏิบัติการภายในคอมพิวเตอร์ นั่นคือ โปรแกรม และแอปพลิเคชันต่างๆ ที่ถูกติดตั้งอยู่ภายในฮาร์ดดิสก์ วิธีดูแลรักษาคอมพิวเตอร์อย่างถูกวิธีสำหรับซอฟต์แวร์ มีดังนี้
1.ควรจัดระเบียบข้อมูลภายในคอมพิวเตอร์ให้เป็นหมวดหมู่

ไม่ควรนำไฟล์งานวางไว้บนหน้า Desktop มากจนเกินไป เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบในการใช้งาน การจัดระเบียนนี้นอกจากจะช่วยให้การค้นหาข้อมูลสะดวกแล้ว ยังทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ทำงานหนักจนเกินไปจนทำให้ทำงานช้าลงอีกด้วย
2. ข้อมูลหรือโปรแกรมที่ไม่ได้ใช้งานแล้วก็ควรลบออกจากคอมพิวเตอร์

เพราะการเก็บข้อมูล หรือโปรแกรมทุกอย่างไว้ในคอมพิวเตอร์ จะทำให้คอมพิวเตอร์ต้องประมวลผลตลอดเวลา เป็นสาเหตุให้คอมพิวเตอร์ทำงานช้าลง และการเก็บข้อมูลต่าง ๆ มากเกินไปยังทำให้พื้นที่ว่างจะหายไปเรื่อย ๆ และเสี่ยงต่อการสูญหายของข้อมูลด้วย
3. ควรมีโปรแกรมแอนตี้ไวรัส และควรสแกนไวรัสภายในเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นประจำ

นอกจากนี้ยังควรทำความสะอาด Hard Disk ด้วยโปรแกรมเฉพาะที่ใช้ในการดูแล Hard Disk เพื่อช่วยให้การทำงานของคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
วิธีดูแลรักษาคอมพิวเตอร์อย่างถูกวิธีนั้นสามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยตนเอง โดยแบ่งการดูแลออกเป็นสองส่วน นั่นคือ ส่วนของฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ตามที่เราแนะนำไปแล้ว เพียงแค่นี้คอมพิวเตอร์ก็สามารถใช้งานได้ปกติ ไม่เสียเร็ว เรียกได้ว่า ไม่ต้องง้อช่างซ่อมคอมพิวเตอร์ในการซ่อมบำรุงเลย

 

4,141 total views, 9 views today